กรุณาเลือก แสดงผลรูปแบบอุปกรณ์พกพา | แสดงผลโหมดพีซี

RoiKib.com | Men Circumcision Community

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 1329|ตอบกลับ: 0

PPP (Pearly Penile Papule)

[คัดลอกลิงก์]

  ออฟไลน์ 

40

กระทู้

80

ตอบกลับ

133 หมื่น

เครดิต

ผู้เชี่ยวชาญ

เครดิต
1330068

เข็มประดับยศ 6เข็มประดับยศ 7เข็มประดับยศ 8เข็มประดับยศ 9เข็มประดับยศ 10

PPP (Pearly Penile Papule) หรืออาการผื่นนูนพีพีพี คือผื่นที่ปรากฏขึ้นเป็นแถวเรียงกันบริเวณรอบส่วนหัวของอวัยวะเพศชาย ลักษณะผื่นเป็นรูปโดมเล็ก ๆ สีเดียวกับผิว คล้ายสิว แต่ไม่มีหนอง ซึ่งพบได้ในช่วงวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ผ่านการขลิบอวัยวะเพศ

อาการดังกล่าวเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในเพศชาย ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศหรือความสะอาดของร่างกาย ผื่นนูนพีพีพีจึงไม่เป็นอันตราย ไม่ใช่เนื้อร้ายหรือโรคติดต่อ และมีแนวโน้มจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น



อาการของ PPP

ผื่นนูน PPP มีลักษณะคล้ายติ่งเนื้อหรือตุ่มนูนนิ่ม ๆ ขนาดเล็ก ผิวเรียบ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-4 มิลลิเมตร ขึ้นเป็นแถวโดยรอบส่วนหัวของอวัยวะเพศประมาณ 1-2 แถว ไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติหรือสร้างความเจ็บปวดต่อร่างกาย แต่อาจขยายตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ผื่นนูนชนิดนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายและไม่แพร่กระจายสู่ผู้อื่น แต่อาจสร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ที่เป็นผื่นได้ เนื่องจากอาจคิดว่าตนเองมีความผิดปกติบริเวณอวัยวะเพศชายหรือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม หากมีความกังวลหรือพบความผิดปกติอื่น ๆ บริเวณอวัยวะเพศ อย่างก้อนนูน รอยด่าง หรือผิวหนังเปลี่ยนสีไปจากเดิม ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

สาเหตุของ PPP

ผื่นนูน PPP เป็นการเปลี่ยนแปลงปกติในโครงสร้างร่างกายของเพศชาย ไม่ได้เกิดจากโรคติดต่อ การติดเชื้อ หรือเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็ง ทางสมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งสหรัฐอเมริการะบุว่า การเกิดของผื่นนูนพีพีพีอาจมาจากเซลล์ที่หลงเหลืออยู่ระหว่างการพัฒนาของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการนี้

การวินิจฉัย PPP

การวินิจฉัยผื่นนูน PPP จะใช้การตรวจร่างกายเป็นหลัก เพราะตำแหน่งและลักษณะของอาการจะช่วยให้แพทย์จำแนกความแตกต่างระหว่างผื่นนูน PPP กับโรคหูด หูดข้าวสุกหรือตุ่มไขมันได้ ซึ่งผื่นนูนชนิดนี้สามารถเห็นได้ชัดเจนจากกล้องที่ใช้ในการตรวจความผิดปกติของผิวหนังโดยเฉพาะ (Dermatoscope)  นอกจากนี้ แพทย์อาจเก็บเนื้อเยื่อบริเวณส่วนหัวอวัยวะเพศชายไปตรวจสอบผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาอย่างละเอียดภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เนื่องจาก PPP จะมีลักษณะเฉพาะ เพื่อช่วยยืนยันผลให้ชัดเจนมากขึ้น

การรักษา PPP

โดยปกติผื่นพีพีพีไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะไม่เป็นอันตราย แต่หากผู้ป่วยมีความกังวลสามารถไปพบแพทย์ ซึ่งการรักษาอาจทำได้ด้วยวิธี ดังนี้

  • การผ่าตัดด้วยเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นเลเซอร์ที่สร้างรังสีอินฟาเรดเพื่อช่วยให้ผื่นนูนจางลง ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเนื่องจากการทดสอบพบว่าผื่นส่วนใหญ่จางลงภายในการทำเลเซอร์เพียงครั้งเดียว
  • การผ่าตัดโดยใช้รังสี (Radiosurgery) จะช่วยให้ผื่นนูนจางลง แต่เป็นวิธีที่ไม่แม่นยำและประสิทธิภาพไม่ดีเท่าวิธีการผ่าตัดด้วยเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์
  • การจี้ไฟฟ้าด้วยการใช้ขั้วไฟฟ้าทำลายผิวหนังส่วนที่มีความผิดปกติ
  • การจี้เย็นด้วยการทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเย็นจนเป็นน้ำแข็ง ส่งผลให้ผื่น PPP หายไป
  • การผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกเพื่อกำจัดผื่นนูนในแต่ละจุดอย่างละเอียด แต่จะทำให้เกิดรอยแผลเป็นมากกว่าวิธีอื่น

อย่างไรก็ตาม หากต้องการรักษาด้วยวิธีพื้นบ้านหรือรูปแบบอื่น เช่น การทาขี้ผึ้ง การขัดถูด้วยแปรงสีฟันหรือน้ำมะนาว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

ภาวะแทรกซ้อนของ PPP

ผื่นนูน PPP ไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อนหรือส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดความวิตกกังวลและความไม่มั่นใจที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

การป้องกัน PPP

อาการผื่นนูน PPP เป็นอาการตามธรรมชาติที่อาจเกิดได้กับเพศชายและไม่สามารถป้องกันได้ สำหรับการขลิบอวัยวะเพศยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นวิธีป้องกันการเกิดผื่นนูน PPP อย่างไรก็ตาม การรักษาสุขภาพและการรักษาความสะอาดอาจช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติต่อร่างกายได้อีกทางหนึ่ง


ขอบคุณข้อมูลจาก pobpad.com


โพสต์ยอดนิยม
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ข้อความล้วน|อุปกรณ์พกพา|ประวัติการแบน|ROIKIB | รอยขลิบ

GMT+7, 2024-3-28 19:41 , Processed in 0.021882 second(s), 23 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.5

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้